เป็นชิ้นส่วนของเรือกลไฟซึ่งพระยา เสนานุชิต (นุช ณ นคร) เข้าหุ้นกับพระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) ซื้อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เพื่อใช้ปราบโจรสลัดและขนส่งสิ้นค้าระหว่างเมืองตะกั่วป่า ภูเก็ต ปีนัง สันนิษฐานว่าเมื่อเรือลำนี้เสื่อมสภาพได้จมลงบริเวณลำน้ำตะกั่วป่า แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจมลงเมื่อใด พบเพียงชิ้นส่วนหม้อสตีมไอน้ำตั้งอยู่หน้ากำแพงจวนเจ้าเมืองตะกั่วป่าชี้ให้เห็นว่าในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นลำน้ำใหญ่มาก่อน หม้อสตีมไอน้ำเรือกลไฟเป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญด้านพาณิชย์ของเมืองตะกั่วป่าในสมัยอดีต


        เป็นชิ้นส่วนของเรือกลไฟซึ่งพระยา เสนานุชิต (นุช ณ นคร) เข้าหุ้นกับพระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) ซื้อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เพื่อใช้ปราบโจรสลัดและขนส่งสิ้นค้าระหว่างเมืองตะกั่วป่า ภูเก็ต ปีนัง สันนิษฐานว่าเมื่อเรือลำนี้เสื่อมสภาพได้จมลงบริเวณลำน้ำตะกั่วป่า แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจมลงเมื่อใด พบเพียงชิ้นส่วนหม้อสตีมไอน้ำตั้งอยู่หน้ากำแพงจวนเจ้าเมืองตะกั่วป่าชี้ให้เห็นว่าในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นลำน้ำใหญ่มาก่อน หม้อสตีมไอน้ำเรือกลไฟเป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญด้านพาณิชย์ของเมืองตะกั่วป่าในสมัยอดีต