ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 6 เมษายน ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมศิลปากรได้ค้นพบโบราณวัตถุและร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญแห่งใหม่ในพื้นที่บริเวณเขาพระเหนอ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เบื้องต้นคาดว่า ร่องรอยหลักฐานที่ค้นพบมีอายุมากกว่า 100 ปี โดยเฉพาะพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งเสด็จประพาสในหัวเมืองปักษ์ใต้ ทั้งนี้ เขาพระเหนอเป็นภูเขาลูกเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงข้ามแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางข้ามคาบสมุทร โดยเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบเทวรูปทำด้วยศิลาทราย ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จนกระทั่งล่าสุด กรมศิลปากรเข้าตรวจสอบพื้นที่อีกครั้ง และพบร่องรอยเทวสถานประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์บริเวณยอดเขาพระเหนอ ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 6 เมษายน ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมศิลปากรได้ค้นพบโบราณวัตถุและร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญแห่งใหม่ในพื้นที่บริเวณเขาพระเหนอ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เบื้องต้นคาดว่า ร่องรอยหลักฐานที่ค้นพบมีอายุมากกว่า 100 ปี โดยเฉพาะพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งเสด็จประพาสในหัวเมืองปักษ์ใต้ ทั้งนี้ เขาพระเหนอเป็นภูเขาลูกเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงข้ามแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางข้ามคาบสมุทร โดยเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบเทวรูปทำด้วยศิลาทราย ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จนกระทั่งล่าสุด กรมศิลปากรเข้าตรวจสอบพื้นที่อีกครั้ง และพบร่องรอยเทวสถานประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์บริเวณยอดเขาพระเหนอ สำหรับที่บริเวณเชิงเขายังพบพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น ใต้พื้นดินบริเวณดังกล่าว ยังพบชิ้นส่วนภาชนะถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ชิง รวมทั้งเศษลูกปัดที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกับแหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึกเมืองท่าการค้าที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
นายวิเศษ เพชรประดับ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต กล่าวว่า เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญซึ่งแสดงถึงการเข้ามาโดยการเชื่อมโยงของคนตั้งแต่สมัยศรีวิชัย หรือประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนที่อยู่บริเวณตะกั่วป่าติดต่อสัมพันธ์กับคนทางโพ้นทะเล ร.อ.บุญฤทธิ์ ฉายสุวรรณ นักโบราณคดีสำนักงานศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต กล่าวว่าสถานที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ พ่อค้าทั้งหลายอาจต้องขึ้นสักการะพระนารายณ์บนเขาพระเหนอ เพื่อให้การค้าราบรื่นก่อนขนสินค้าจากฝั่งอันดามันออกอ่าวบ้านดอนออกสู่ทะเล