พระเหนอตะกั่วป่า
(พระนารายณ์ที่เคยประดิษฐานที่เขาพระเหนอ)
พระเหนอ เป็นพระนารายณ์ศิลารุ่นเก่าขนาดใหญ่ สูงประมาณ 202 ซม.เดิมเคยประดิษฐานอยู่บนเขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพให้นำไปเก็บรักษาไว้ที่กรุงเทพ เมื่อปี 2470 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน พระนคร
พระเหนอ หรือพระนารายณ์เขาพระเหนอ เป็นประติมากรรมลอยตัวเป็น ศิลปปัลลวะ (ศิลปะของอินเดียตอนใต้) สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 1,200 – 1,300 ปี
พระเหนอตะกั่วป่า
(พระนารายณ์ที่เคยประดิษฐานที่เขาพระเหนอ)
พระเหนอ เป็นพระนารายณ์ศิลารุ่นเก่าขนาดใหญ่ สูงประมาณ 202 ซม.เดิมเคยประดิษฐานอยู่บนเขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพให้นำไปเก็บรักษาไว้ที่กรุงเทพ เมื่อปี 2470 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน พระนคร
พระเหนอ หรือพระนารายณ์เขาพระเหนอ เป็นประติมากรรมลอยตัวเป็น ศิลปปัลลวะ (ศิลปะของอินเดียตอนใต้) สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 1,200 – 1,300 ปี
เขาพระเหนอ
เขาพระเหนอ เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา อยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำตะกั่วป่า ตรงข้ามกับแหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก บนเขาพระเหนอตรงกลางเนินพบฐานโบราณสถานซึ่งก่อสร้างด้วยก้อนหินขนาดใหญ่และเล็กมาวางเรียงซ้อนกันแล้วปูทับด้วยอิฐแผ่นใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด ยาวด้านละ 9 – 10 เมตร เป็นที่ประดิษฐานองค์พระนารายณ์เขาพระเหนอ สำหรับเทวสถานส่วนบนคงจะเป็นไม้ ตรงเชิงเขาด้านทิศเหนือมีบ่อน้ำจืดมีน้ำตลอดทั้งปี เพิ่งจะขุดค้นและขุดแต่งไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ สามารถเดินทางเข้าถึงเขาพระเหนอได้โดยทางเรือจากท่าเรือบ้านน้ำเค็ม
ในปี 2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จประพาสจังหวัดตะกั่วป่า และได้เสด็จไปทอดพระเนตรเทวรูปพระนารายณ์บนเขาพระเหนอ ในวันที่ 23 เมษายน ร.ศ. 128 หรือ พ.ศ. 2452 ได้ทรงบันทึกไว้ดังนี้
“…เวลาบ่าย 2 โมงถึงปากคลองเหนอ ฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำ คลองนี้เล็กและตื้น แม้แต่เรือเล็ก ๆ ก็เข้าไปไม่ได้จึงต้องขึ้นที่ปากคลอง แล้วเดินต่อไปในลำคลอง เดินในลำคลองจริง ๆ ไม่ใช่ริม ๆ แต่ผมต้องรีบบอกเสียในที่นี้ว่า ไม่ได้ลุยโคลนจั๊บแจ๊ะไป เพราะเขาทำตะพานไปตลอดลำคลอง จนถึงพลับพลาที่ประทับร้อนที่เชิงเขาพระเหนอ เครื่องกลางวันที่นี้ นายซุ่นฮวดกำนันเป็นผู้จัดถวาย มาซ้ำวันนี้เข้าอีกดูไม่ใคร่ขันเหมือนเมื่อวานนี้ ตามความจริงกำนันแลผู้ใหญ่บ้านที่จัดเครื่องถวายทั้ง ๒ วันนี้ ไม่ใช่กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านชนิดที่เข้าใจกันโดยมาก ตามความเข้าใจกันโดยมากว่า กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นบุคคลชนิดนุ่งผ้าสีน้ำเงินสวมเสื้อสีน้ำตาล มีบั้งขาว ๆ ติดที่แขนและเป็นชาวนาเป็นพื้น แต่กำนันผู้ใหญ่บ้านเมืองตะกั่วป่านี้ไม่เป็นเช่นนั้นเลย มักเป็นจีนเกิดในเมืองไทย และเป็นพ่อค้าหรือนายเหมือง จึงเป็นผู้มีเงินอยู่บ้าง การที่จะจัดเลี้ยงจึงไม่สู้ประหลาดอะไรนัก
เสวยแล้วเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรพระนารายณ์เทวรูปบนยอดเขาพระเหนอ เทวรูปองค์นี้ทำด้วยศิลาทราย บัดนี้หักเสียเป็นสองท่อน หักเฉพาะที่เอว ถ้าไม่หักคงจะสูงราว ๕ ศอก เครื่องสนิมพิมพาภรณ์ไม่วิจิตรเหมือนองค์ที่เขาเวียง แต่ฝีมือทำกล้ามเนื้อดีเหมือนคน เทวรูปนี้ยืนอยู่กลางฐานใหญ่ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ซึ่งให้เห็นได้ว่าคงเป็นศาลหรืออะไรสักอย่างหนึ่ง แต่เรื่องราวอะไรก็สืบไม่ได้
จากที่คลองเหนอได้ทรงเรือ เสด็จขึ้นทอดพระเนตรทุ่งตึกซึ่งอยู่ในเกาะคอขาว ตรงกันข้ามกับที่ตั้งเมืองใหม่ ที่นี่ไม่มีอะไรดูนอกจากเนินดิน ขุดลงไปพบอิฐแผ่นใหญ่ ๆ ชนิดเดียวกับที่เห็นอยู่ที่บนยอดเขาพระเหนอ กับมีศิลาแบน ๆ สองแผ่น ตัดเป็นรูปกลมมีเป็นรูสี่เหลี่ยมอยู่ตรงกลาง จะใช้สำหรับอะไรก็ไม่ทราบ บางทีที่นี้จะเนื่องกับเทวรูปที่คลองเหนอ คืออาจจะเป็นเทวสถานอีกอันหนึ่งของคณะเดียวกันก็ได้ แต่ครั้นผมจะเดาอะไรไปมากมายต่อไปอีก ผมก็เกรงจะถูกหาว่ากุ เพราะฉะนั้นผมคงงดไว้ทีดีกว่า…”